องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ง

Huaikang Subdistrict Administrative Organization

ข้อมูลทั่วไป


ออนไลน์ : 2

หัวข้อ :: ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไป
สภาพทั่วไปของตำบลห้วยแก้ง
 
สภาพทั่วไป
      องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ง อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ได้ยกฐานะจากสภาตำบล เป็น องค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อปี พ.ศ. 2540 (โดยอาศัยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537) ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนพิเศษ 52 ลำดับที่ 2049 ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539 และ 2540 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ ภายในพื้นที่ 99 ตารางกิโลเมตร หรือ 23,567 ไร่ จำนวน 14 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น 4,752 คน มีสมาชิกสภา อบต. โดยตำแหน่งเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและแพทย์ประจำตำบล (ในสมัยนั้น) จำนวน 14 คน และมีสมาชิกสภา อบต. มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 28 คน ประธานกรรมการบริหารคนแรกคือนายคำเสน อินทนาม โดยจัดตั้งเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นขนาดกลาง มีทั้งหมด 14 หมู่บ้าน

ลักษณะทางภูมิศาสตร์
      ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มตำบลห้วยแก้ง องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลห้วยแก้ง อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร 35140 อยู่ห่างจากอำเภอกุดชุม ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2169 ระยะทาง 6 กิโลเมตรและอยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลหนองหมี อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลนาโส่ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลกุดชุม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลทรายมูล อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร

ภูมิอากาศ
      ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มตำบลห้วยแก้ง องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลห้วยแก้ง อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร 35140 อยู่ห่างจากอำเภอกุดชุม ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2169 ระยะทาง 6 กิโลเมตรและอยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลหนองหมี อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธรทิศใต้ ติดกับ ตำบลนาโส่ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ทิศตะวันออกติดกับ ตำบลกุดชุม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ทิศตะวันตกติดกับ ตำบลทรายมูล อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร

ป่าไม้
      ป่าไม้ คงเหลือประมาณร้อยละ 15 ประเภทของป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง ป่าไม้ชนิดมีค่า ได้แก่ ยาง ประดู่ แดง เต็ง รัง เป็นต้น พื้นที่ป่ามีความอุดมสมบูรณ์

ลักษณะชุมชน
      สภาพเศรษฐกิจ การเงิน มูลค่าส่วนใหญ่มาจากภาคเกษตรกรรม ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง เป็นต้น รองลงมาอยู่นอกภาคเกษตร ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์ ขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล ของใช้ในครัวเรือน เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ไก่ โค สุกร และกระบือ จิ้งหรีด หม่อน ตามลำดับ ส่วนประมงเป็นการเลี้ยงตามแหล่งน้ำธรรมชาติ

สภาพสังคม
      ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชน โครงสร้างประชากรเป็นชาวไทยอีสาน จะพบลักษณะของการพึ่งพาอาศัยกันในชุมชน ส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา เทศกาล งานประเพณี มีฮีตสิบสอง คองสิบสี่

เขตการปกครอง
      เขตตำบลห้วยแก้ง มีเนื้อที่ 99.00 ตารางกิโลเมตร หรือ 23,567 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มลักษณะที่ตั้งอาณาเขตการปกครอง แบ่งเขตการปกครองเป็น 14 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
บ้านห้วยแก้ง      หมู่ที่ 1
บ้านหนองศาลา      หมู่ที่ 2
บ้านหนองบัวบาน      หมู่ที่ 3
บ้านคำก้าว      หมู่ที่ 4
บ้านโสกน้ำขาว      หมู่ที่ 5
บ้านหัวนา      หมู่ที่ 6
บ้านบะนางเจิม      หมู่ที่ 7
บ้านโคกสว่าง      หมู่ที่ 8
บ้านโนนใหญ่      หมู่ที่ 9
บ้านชัยชนะ      หมู่ที่ 10
บ้านสุขสำราญ      หมู่ที่ 11
บ้านหนองบัวบาน      หมู่ที่ 12
บ้านห้วยแก้ง      หมู่ที่ 13
บ้านคำก้าวน้อย      หมู่ที่ 14

 
 
 
วันที่ : 26 มกราคม 2560   View : 2323